บทความเรื่องก๊าซปิโตรเลียมเหลวLPG
ก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยแก๊สหลายชนิด ได้แก่ แก๊สมีเทน แก๊สอีเทนแก๊สโพรเพน และแก๊สบิวเทน เมื่อจะนำมาใช้ต้องแยกแก๊สออกจากกันเสียก่อน
แก๊สมีเทน... ใช้ผลิตไฟฟ้า ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และใช้กับรถยนต์ ซึ่งก็คือแก๊สCNG หรือ NGV
แก๊สอีเทน + โพรเพน... ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานปิโตรเคมี
แก๊สโพรเพน + บิวเทน... ใช้ในโรงงานปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมอื่นๆ และใช้เป็นแก๊สหุงต้ม (LPG) ที่เรารู้จักนั่นเอง
- แก๊สหุงต้ม (Liquefied Petroleum Gas) มีชื่อทางการว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือแก๊สแอลพีจี หมายถึง “แก๊สไฮโดรคาร์บอนเหลว คือ โพรเพน โพรพิลีนบิวเทน หรือบิวทีลีนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมกันก็ได้ โดยแก๊สโพรเพนและบิวเทนเป็นสารไฮโดรคาร์บอนประเภทอิ่มตัว มีการเผาไหม้สมบูรณ์ เผาไหม้ดี ไม่เกิดเขม่า ส่วนแก๊สโพรพิลีนและบิวทีลีนเป็นสารไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว เมื่อเผาไหม้จะเกิดเขม่า หรือเผาไหม้ไม่สมบูรณ์นั่นเอง
อย่างไรก็ตามก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจีที่ใช้กันทั่วไปจะมีโพรเพนกับบิวเทนเพียงสองอย่างเท่านั้นที่เป็นส่วนประกอบหลัก โดยอาจมีอัตราส่วนระหว่าง โพรเพนกับบิวเทน ตั้งแต่ 30 : 70 ไปจนถึง 70 : 30
แก๊สโพรเพนและบิวเทนในสภาพปกติ ณ อุณหภูมิและความดันของบรรยากาศ จะอยู่ในสถานะแก๊ส เมื่ออัดแก๊สดังกล่าว ด้วยความดันสูง หรือลดอุณหภูมิให้ต่ำลงเพียงพอ แก๊สทั้งสองก็จะเปลี่ยนสภาวะจากแก๊สเป็นของเหลว
ซึ่งแก๊สแอลพีจีหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว จะมีที่มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่
1.ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันซึ่งจะได้แก๊สโพรเพนและบิวเทนประมาณ 1-2%ของกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ
2.ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งจะมีแก๊สโพรเพนและบิวเทนในก๊าซธรรมชาติประมาณ 6-10%
ทั้งนี้คุณภาพของแก๊สแอลพีจีขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของแก๊สแอลพีจีด้วยโดยทั่วไป ณ อุณหภูมิ 15.5 องศาเซสเซียสความหนาแน่นของแก๊สแอลพีจีมีค่าประมาณ 0.54 กิโลกรัมต่อลิตร (ซึ่งเป็นค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของแก๊สแอลพีจีที่กรมธุรกิจพลังงานใช้เป็นค่าอ้างอิงสำหรับการคำนวณ)ซึ่งความหนาแน่นที่มีค่าน้อยกว่า 0.54 กิโลกรัมต่อลิตร จะเป็นแก๊สคุณภาพที่ดีกว่าแก๊สที่มีค่าความหนาแน่นที่สูงกว่า 0.54 กิโลกรัมต่อลิตร
ดังนั้นก๊าซปิโตรเลียมเหลวในสถานะที่เป็นของเหลวจะเบากว่าน้ำ(ความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ 1กิโลกรัมต่อลิตร) ถ้าเกิดมีแก๊สรั่วขึ้นในขณะที่อุณหภูมิโดยรอบในขณะนั้นต่ำมาก และก๊าซปิโตรเลียมเหลวเกิดไหลลงไปในรางระบายน้ำ คูคลอง ก๊าซปิโตรเลียมเหลวก็จะลอยไปกับน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอัคคีภัยในท้องที่ห่างไกลจากบริเวณที่ก๊าซปิโตรเลียมเหลวรั่วออกไปได้
นอกจากนี้อุณหภูมิยังมีผลต่อค่าความหนาแน่น คือ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของสารเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวจะลดลง
ก๊าซ LPG ใช้เป็นก๊าซหุงต้ม มีลักษณะดังนี้
- ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่ผู้ผลิตเติมสารซึ่งมีกลิ่นฉุนแทน เพื่อใช้เตือนภัยเมื่อเกิดก๊าซรั่ว
- ตัวก๊าซหุงต้ม (LPG) เองไม่เป็นพิษ แต่ถ้าเกิดเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ก็จะเกิดก๊าซคาร์บอน
- มอนนอกไซด์ และถ้าสูดดมเข้าไปมากๆ ก๊าซจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในร่างกาย จะทำให้
- มึนงง เวียนศีรษะ และอาจเสียชีวิตได้
- LPG หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดก๊าซรั่ว จะลอยต่ำลงสู่พื้น
ก๊าซหุงต้ม (LPG) เหลว 1 ลิตร ขยายตัวเป็นไอได้ประมาณ 250 ลิตร (250 เท่า) ดังนั้นควรบรรจุก๊าซในถังไม่เกิน 85 % ของปริมาตรถัง เพื่อให้มีที่ว่างในการขยายตัวของก๊าซ
- ติดไฟง่าย มีอุณหภูมิของเปลวไฟสูง ประมาณ 1,900 °C เป็นเชื้อเพลิงที่ดี เหมาะกับงานที่ต้องการความร้อนสูงเช่น การหลอมโลหะ
- ก๊าซหุงต้ม (LPG) 1 ลิตร = 0.54 กก.
1 กก. = 1.85 ลิตร
คุณสมบัติของก๊าซแอลพีจีมีดังนี้
คุณสมบัติ |
LPG |
|
สถานะปกติ |
ก๊าซ (หนักกว่าอากาศ) |
|
จุดเดือด (องศาเซลเซียส) |
-50-0 |
|
อุณหภูมิจุดระเบิดในอากาศ (องศาเซลเซียส) |
400 |
|
ช่วงติดไฟในอากาศ (ร้อยละโดยปริมาตร) |
ค่าสูง |
15 |
|
ค่าต่ำ |
1.5 |
ค่าออกเทน1/ |
RON2/ |
105 |
|
MON3/ |
97 |
ที่มา:การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ:
1.ค่าออกเทน (Octane number) หมายถึง หน่วยการวัดความสามารถ ในการต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์
2.RON (Research Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ที่ทำงานอยู่ในรอบของช่วงหมุนต่ำ โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 600 รอบ ต่อนาที
3.MON (Motor Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ในขณะทำงานที่รอบสูง โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 900 รอบต่อนาที
กลับหน้าที่แล้ว